แนวคิด

                       จากการที่ข้าพเจ้าได้มองเห็นถึงความยากลำบากของชีวิตเกษตรกรชาวนา ที่ต้องดิ้นรนทุกข์ยากจากการประกอบอาชีพ ต้องประสบกับภัยพิบัติกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติฤดูกาล และการเอารัดเอาเปรียบจากผู้คนที่อยู่ในฐานะที่เหนือกว่า ข้าพเจ้าจึงได้ใช้ผืนนาที่ชาวนาใช้เป็นพื้นที่ประกอบอาชีพ บอกเรื่องราวทุกข์สุขที่เกิดขึ้นกับชาวนา ผืนนาจึงเปรียบเหมือนผิวหนังที่มีชีวิต ประสบการณ์จากกาลเวลาเหน็ดเหนื่อยแสนลำบากกว่าที่จะได้พบกับความสำเร็จ ทำให้เกิดร่องรอยขึ้นซึ่งเปรียบเสมือนบาดแผลเป็นที่บันทึกไว้ เป็นร่องรอยจากการเพาะปลูกจากรอยไถ รอยรถไถที่ขูดลาก และรอยเท้าจากคนหรือสัตว์ลงบนผืนดินที่เปียกชื้นจนกระทั่งแห้ง
                       ร่องรอยบนผืนนานี้เป็นความสะเทือนใจที่สะท้อนถึงความรุนแรง ทั้งความสุข ความสำเร็จ และความเศร้าความหดหู่และสะเทือนใจ เป็นสถานการณ์บนผืนนาที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวนา ข้าพเจ้านำมาสร้างสรรค์เป็นงานวิทยานิพนธ์โดยผ่านกระบวนการภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) เพื่อให้กระบวนการรุนแรงของการแกะไม้และการพิมพ์ทับด้วยความหยาบของสี ได้สะท้อนความรู้สึกสะเทือนใจที่ข้าพเจ้าต้องการ

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : ร่องรอย วิถี ท้องนา หมายเลข 1 ("Traces, Ways, Riecfields" No.1)

เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut)
ขนาด : 75 x 180 cm.

ชื่อภาพ : ร่องรอย วิถี ท้องนา หมายเลข 2 ("Traces, Ways, Riecfields" No.2)

เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut)
ขนาด : 75 x 180 cm.

ชื่อภาพ : ร่องรอย วิถี ท้องนา หมายเลข 3 ("Traces, Ways, Riecfields" No.3)

เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut)
ขนาด : 120 x 240 cm.

ชื่อภาพ : ร่องรอย วิถี ท้องนา หมายเลข 4 ("Traces, Ways, Riecfields" No.4)

เทคนิค : ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut)
ขนาด : 120 x 240 cm.